วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แผนการสอนวิทยาศาสตร์ ป.3 แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตร 2551

หน่วยการเรียนรู้ที่  1   ฉันเหมือนใคร
                                                                                                                                                            เวลา  6  ชั่วโมง
1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
     ว 1.2          ป.3/1         อภิปรายลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว
                   ป.3/2       เปรียบเทียบและระบุลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูก
                   ป.3/3       อธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกว่าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและนำความรู้ไปใช้
                                 ประโยชน์
     ว 8.1       ป.3/1       ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
                   ป.3/2       วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจ ตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม                                          และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
                   ป.3/3       เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบและบันทึกข้อมูล
                   ป.3/4       จัดกลุ่มข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล
                   ป.3/5       ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ
                   ป.3/6       แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้
                   ป.3/7       บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีแผนภาพประกอบคำอธิบาย
                   ป.3/8       นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

2.  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
     สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างภายนอกที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และมนุษย์ได้นำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสายพันธุ์ของพืชและสัตว์

3.  สาระการเรียนรู้
     3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง
            1) สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน
         2) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีลักษณะภายนอกที่ปรากฏคล้ายคลึงกับพ่อแม่ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
         3) ลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
         4) มนุษย์นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสายพันธุ์                       ของพืชและสัตว์
    3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
         (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)



4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
     4.1   ความสามารถในการคิด
            1) ทักษะการสังเกต                                           2) ทักษะการสำรวจค้นหา
         3) ทักษะการเปรียบเทียบ                                    4) ทักษะการระบุ
         5) ทักษะการสรุปลงความเห็น                               6) ทักษะการนำความรู้ไปใช้
         7) ทักษะการเชื่อมโยง
     4.2   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
    1. ใฝ่เรียนรู้                                                          2. มุ่งมั่นในการทำงาน

6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
     รายงาน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก

7.  การวัดและการประเมินผล
     7.1   การประเมินก่อนเรียน
            -   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร
    7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
         1) ตรวจใบงานที่ 1.1 เรื่อง พืชรอบตัวเรา
         2) ตรวจใบงานที่ 2.1 เรื่อง สัตว์ที่ฉันรู้จัก
         3) ตรวจใบงานที่ 2.2 เรื่อง ลักษณะภายนอกของสัตว์
         4) ตรวจใบงานที่ 3.1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร
         5) ตรวจใบงานที่ 3.2 เรื่อง ครอบครัวของฉัน
         6) ตรวจใบงานที่ 4.1 เรื่อง การพัฒนาสายพันธุ์
         7) ตรวจแบบบันทึกการอ่าน
         8) ประเมินการนำเสนอผลงาน
         9) สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
        10) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
        11) สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    7.3   การประเมินหลังเรียน
         -   ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร
    7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
         -   ตรวจรายงาน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก                 

8.  กิจกรรมการเรียนรู้
     Ü     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร
เรื่องที่ 1   ลักษณะภายนอกของพืช                                                                                  เวลา  1  ชั่วโมง
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E)


ขั้นที่  1  กระตุ้นความสนใจ (Engagement)
    ครูนำภาพพืชมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนบอกลักษณะภายนอกของพืชทั้ง 2 ชนิด ว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

ขั้นที่  2  สำรวจค้นหา (Exploration)
    ครูให้นักเรียนแต่ละคนสำรวจต้นพืชบริเวณโรงเรียน มาคนละ 2 ชนิด แล้ววาดภาพพืชลงในใบงานที่ 1.1 เรื่อง      พืชรอบตัวเรา พร้อมทั้งอธิบายลักษณะภายนอกของพืชแต่ละชนิด แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความเหมือนกัน      และความแตกต่างกันของพืชทั้ง 2 ชนิด

ขั้นที่  3  อธิบายความรู้ (Explanation)
    นักเรียนอาสาสมัคร 2-3 คน ออกมานำเสนอใบงานที่ 1.1 ที่หน้าชั้นเรียน แล้วร่วมกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการทำ ใบงานผลัดกันซักถามข้อสงสัย จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความแตกต่างลักษณะภายนอกของพืช

ขั้นที่  4  ขยายความเข้าใจ (Elaboration)
    ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า พืชชนิดเดียวกันจะมีลักษณะภายนอกที่ปรากฏคล้ายคลึงกัน จากนั้นครูยกตัวอย่างพืช ครั้งละ 2 ชนิด ให้นักเรียนช่วยกันบอกลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน

ขั้นที่  5  ตรวจสอบผล (Evaluation)
    1. ครูสุ่มเรียกนักเรียนทีละคน ประมาณ 4-5 คน ให้บอกความเหมือนและความแตกต่างของพืชที่ครูยกตัวอย่าง
    2. นักเรียนร่วมกันสรุปความเหมือนและความแตกต่างเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของพืช





    




เรื่องที่ 2   ลักษณะภายนอกของสัตว์                                                                                เวลา  1  ชั่วโมง
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E)


ขั้นที่  1  กระตุ้นความสนใจ (Engagement)
    ครูนำภาพสัตว์มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนบอกลักษณะภายนอกของสัตว์ ว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

ขั้นที่  2  สำรวจค้นหา (Exploration)
    ครูให้นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภายนอกสัตว์ บันทึกผลลงในใบงานที่ 2.1 เรื่อง สัตว์ที่ฉันรู้จัก

ขั้นที่  3  อธิบายความรู้ (Explanation)
    นักเรียนอาสาสมัคร 2-3 คน ออกมานำเสนอใบงานที่ 2.1 ที่หน้าชั้นเรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของสิ่งมีชีวิตที่ได้จากการทำใบงาน

ขั้นที่  4  ขยายความเข้าใจ (Elaboration)
    1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า สัตว์แต่ละชนิดจะมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน ส่วนสัตว์ชนิดเดียวกันจะมีลักษณะ
        ภายนอกที่คล้ายคลึงกัน แต่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
    2. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง ลักษณะภายนอกของสัตว์

ขั้นที่  5  ตรวจสอบผล (Evaluation)
    ครูสุ่มเรียกนักเรียนออกมานำเสนอใบงานที่ 2.2 โดยมีครูและเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ คอยตรวจสอบความถูกต้องและแสดงความคิดเห็นในส่วนที่แตกต่าง


เรื่องที่ 3   การถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูก                                                        เวลา  1-2  ชั่วโมง
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E)


ขั้นที่  1  กระตุ้นความสนใจ (Engagement)
     ครูขออาสาสมัครนักเรียน 2 คน ออกมายืนหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนในห้องช่วยกันบอกลักษณะที่แตกต่างกัน  ของเพื่อน 2 คน

ขั้นที่  2  สำรวจค้นหา (Exploration)
    1. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูก จากหนังสือเรียน
2.    นักเรียนสำรวจลักษณะต่างๆ ของตนเองแล้วนำมาเปรียบเทียบกับรูปถ่ายของพ่อแม่ แล้วบันทึกลงในใบงานที่ 3.1
          เรื่อง ฉันเหมือนใคร  

ขั้นที่  3  อธิบายความรู้ (Explanation)
    1. นักเรียนผลัดกันออกมานำเสนอใบงานที่ 3.1 และร่วมกันอธิบาย ซักถามในส่วนที่แตกต่าง หรือข้อสงสัย แล้วครู
        และนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบ
    2. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก

ขั้นที่  4  ขยายความเข้าใจ (Elaboration)
    1. ครูตั้งประเด็นคำถามถามนักเรียนว่า ลักษณะต่างๆ ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกมีอะไรบ้าง
    2. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 3.2 เรื่อง ครอบครัวของฉัน

ขั้นที่  5  ตรวจสอบผล (Evaluation)
    1. ครูขออาสาสมัครนักเรียนออกมานำเสนอใบงานที่ 3.2 แล้วร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน
    2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม



เรื่องที่ 4   การนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
                    ไปใช้ประโยชน์                                                                                                                                      เวลา  1-2  ชั่วโมง
วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model)


ขั้นที่  1  ทบทวนความรู้เดิม
     ครูทบทวนความรู้เดิมเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก โดยการตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบ

ขั้นที่  2  แสวงหาความรู้ใหม่
    นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง การนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ จากหนังสือเรียน

ขั้นที่  3  ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
    ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 4.1 เรื่อง การพัฒนา สายพันธุ์

ขั้นที่  4  แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายคำตอบในใบงานที่ 4.1 ภายในกลุ่ม

ขั้นที่  5  สรุปและจัดระเบียบความรู้
    นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงานที่ 4.1

ขั้นที่  6  ปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน
     สมาชิกแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานจากใบงานที่ 4.1 ที่หน้าชั้นเรียน

ขั้นที่  7  ประยุกต์ใช้ความรู้
    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายการนำความรู้เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
     Ÿ  ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำรายงาน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
          จากพ่อแม่ไปสู่ลูก

     Ü     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร

9.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     9.1   สื่อการเรียนรู้
         1) หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.3
         2) บัตรภาพ
         3) รูปถ่ายพ่อแม่
         4) เพลง ต้นไม้ เพลง ช้าง
         5) ต้นส้มเขียวหวาน ต้นมะนาว
         6) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง พืชรอบตัวเรา
         7) ใบงานที่ 2.1 เรื่อง สัตว์ที่ฉันรู้จัก
         8) ใบงานที่ 2.2 เรื่อง ลักษณะภายนอกของสัตว์
         9) ใบงานที่ 3.1 เรื่อง ฉันเหมือนใคร
        10) ใบงานที่ 3.2 เรื่อง ครอบครัวของฉัน
        11) ใบงานที่ 4.1 เรื่อง การพัฒนาสายพันธุ์
     9.2   แหล่งการเรียนรู้
         1) สวนบริเวณโรงเรียน
         2) ห้องสมุด


การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)


แบบประเมินรายงาน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก

รายการประเมิน
คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน
ดี (3)
พอใช้ (2)
ปรับปรุง (1)
1. การอธิบายลักษณะต่างๆ
    ของตนเองและคนใน
    ครอบครัว
อธิบายลักษณะต่างๆ ของ
ตนเองและคนในครอบครัวได้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง
อธิบายลักษณะต่างๆ ของ
ตนเองและคนในครอบครัวได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
อธิบายลักษณะต่างๆ ของ
ตนเองและคนในครอบครัวได้ถูกต้องเพียงเล็กน้อย
2. การเปรียบเทียบและ
    อธิบายลักษณะที่
    คล้ายคลึงกันของพ่อแม่
    กับลูก
เปรียบเทียบและอธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของ   พ่อแม่กับลูกได้ถูกต้อง ชัดเจน
เปรียบเทียบและอธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของ   พ่อแม่กับลูกได้ถูกต้องเป็น
ส่วนใหญ่
เปรียบเทียบและอธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของ   พ่อแม่กับลูกได้ถูกต้องเพียง
เล็กน้อย
3. การอธิบายการถ่ายทอด
    ลักษณะทางพันธุกรรม
อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ถูกต้อง ชัดเจน
อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ถูกต้อง    เป็นส่วนใหญ่
อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ถูกต้อง   เพียงเล็กน้อย
4. การอธิบายการนำความรู้
    เกี่ยวกับการถ่ายทอด
    ลักษณะทางพันธุกรรม
    ไปใช้ประโยชน์
อธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง 3 ข้อขึ้นไป
อธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง 2 ข้อ
อธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง 1 ข้อ


เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ


10 - 12
ดี


6 - 9
พอใช้


ต่ำกว่า 6
ปรับปรุง


+
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   


คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใด ไม่ใช่ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในมนุษย์
     ก.  สีผิว                     ข.  หาง                                
           ค.  ติ่งหู                     ง.  เส้นผม

2.  สัตว์ต่างชนิดกันจะมีลักษณะภายนอกแตกต่างกัน ส่วนสัตว์
     ชนิดเดียวกันจะมีลักษณะภายนอกเป็นอย่างไร
     ก.  สรุปไม่ได้            
     ข.  เหมือนกัน           
     ค.  แตกต่างกัน          
     ง.  คล้ายคลึงกัน

3.  สัตว์คู่ใดที่มีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน
     ก.  แมวกับเสือ          
     ข.  สุนัขกับแมว
     ค.  เสือกับสุนัข          
     ง.  สุกรกับฮิปโปโปเตมัส

4.  ข้อใดเป็นการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
     ก.  ความสูง
     ข.  ความอ้วน
     ค.  การเล่นฟุตบอล
     ง.  การเล่นปิงปอง

5.  การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากพ่อแม่ไปสู่ลูก เรียกว่าอะไร
     ก.  การถ่ายทอดลักษณะทางเพศศึกษา
     ข.  การถ่ายทอดลักษณะทางทันตกรรม
     ค.  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
     ง.  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุศาสตร์


6.  ด.ช.เก่งมีหน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่ แต่มีหน้าตาเหมือนปู่
     ลักษณะที่แตกต่างนี้เรียกว่าอะไร
     ก.  ลักษณะเด่น    
     ข.  ลักษณะด้อย        
           ค.  ลักษณะที่แปรผัน
           ง.    ลักษณะที่เปลี่ยนแปลง

7.  ครอบครัวของ ด.ญ.จอย มีผิวสีดำทั้งหมด ลักษณะเด่น
     คืออะไร
     ก.  ผิวสีดำ                      ข.  ผิวสีขาว
     ค.  ผิวสีเหลือง            ง.  ผิวสีน้ำตาล

8.  ถ้าผสมพันธุ์แมวขนสีดำกับแมวขนสีขาว ปรากฏว่าได้      
     ลูกแมวขนสีดำ 2 ตัว ลักษณะด้อยของลูกแมว คืออะไร
     ก.  ขนสีดำ                ข. ขนสีขาว                                           
     ข.  ขนสีเทา               ง. ขนสีขาวปนดำ                         

9.  ข้อใดเป็นลักษณะทางพันธุกรรม
     ก.  สีผิว       
     ข.  แผลเป็น
     ค.  ความอ้วน
     ง.    ความสวย ความหล่อ

  10.  การปรับตัวและพัฒนาสายพันธุ์พืชและสัตว์ มีผลทางด้าน
     เศรษฐกิจอย่างไร
     ก.  ทำให้ผลผลิตลดลง
     ข.  ทำให้พืชสูญพันธุ์
     ค.  ทำให้สัตว์สูญพันธุ์
     ง.  เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น




  ได้คะแนน       คะแนนเต็ม
 
1.        2.         3.        4.        5.  
6.        7.         8.         9.        10.
                                                                                                                                                                                               ตัวชี้วัด ว 1.2 ข้อ 1-3

10
 
       อ้างอิง                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น